• คุณกำลังอยู่ที่หน้า: หน้าแรก > รวมบทความ > คู่มือ > การใช้งาน PSU TESTER

    สินค้าที่เกี่ยวข้อง

    รายการสินค้าที่เลือกชมล่าสุด

    <<--กลับไปที่หมวดหลัก
    ! สินค้าล้างสต๊อก !
    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
    หมวดระบบงาน Network
    |อุปกรณ์ต่อพ่วง
    |POE ฝากไฟไปกับสายแลน
    |หัวแลน RJ45 หลายแบบ
    |Boot หัวแลน แบบต่างๆ
    |สายแลน Cat5e Cat6
    |หัวโทรศัพท์ RJ11
    |ตัวต่อสาย RJ45 RJ11
    |เครื่องเทสสายแลน
    |คีมย้ำหัว
    |RJ ตัวเมีย แผง Box..
    |Switch|Router|WiFi..
    |อุปกรณ์เสริม Network
    หมวดระบบงาน CCTV
    |แหล่งจ่ายไฟ CCTV
    |บาลัน Video Balun ..
    |สาย/หัวต่อ BNC RCA F
    |หัว Jack/สายแยกไฟ DC
    |เม็ดเชื่อมสาย Tabสาย
    |เครื่องมืองาน CCTV
    Adapter แหล่งจ่ายไฟ
    |Adapter 5V
    |Adapter 12V
    |Adapter 24V
    |Adapter Notebook
    |Power CCTV แบบ BOX..
    |PSU Computer
    |สายแยกไฟ Adapter
    |Jack แบบต่างๆ
    |เครื่องทดสอบ PSU คอม
    |สายไฟ AC แบบต่างๆ
    |หัวต่อแปลงปลั๊กไฟ
    |แบตเตอรี่ ต่างๆ
    Tool เครื่องมือต่างๆ
    |คีมย้ำหัวแลน โทรศัพท
    |มีด เครื่องปอกสาย
    |ย้ำตัวเมีย Impact...
    |คีมย้ำสาย RG
    |คีมบีบ เม็ดเชื่อมสาย
    |เครื่องเทส Lan / RG
    |PSU Tester เทส PSU
    |ชั่ง ตวง วัด
    |Tool อื่นๆ่น่าสนใจ
    อุปกรณ์มือถือ Tablet
    |Power Bank
    |Car charger
    |สายData/ชาร์ต galaxy
    อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
    ## มุมสินค้ามือ2
    #PreOrder#
    # รวมสินค้าทั้งหมด
    # EOL-ยกเลิกการขาย
    การใช้งาน PSU TESTER
    Indyman / 2013-07-17

     คู่มือการใช้งาน

     

    การใช้งาน PSU TESTER

    เครื่องทดสอบและวิเคราะห์ แหล่งจ่ายไฟ คอมพิวเตอร์ PC

    แบ่งการตรวจสอบออกเป็น  2+1  Stage เป็นยังไง ? มาดูกัน

     

    Stage 1 -- No Load

    ตรวจระดับแรงดัน ของ DC-Out ทั้งหมด และ ตรวจสอบค่า Power good (PG) ของ Power Supply ขณะไม่มีโหลด

    วิธีทดสอบ

     

    1. นำสายไฟ DC-out ของเพาเวอร์ซัพพลายมาต่อเข้ากับ PSU Tester

    • - 20 pin or 24 pin supply (MAINBOARD) -- [*จำเป็น]

    • - 4 or 8  pin (mainboard) -- [*จำเป็น]

    • - 6 pin (PCIExpress) -- [Option]

    • - 4 pin molex (IDE HDD, IDE DVD) -- [Option]

    • - 4 pin Floppy disk -- [Option]

    • - Sata Power  [Option]

    2. เสียบสาย AC จ่ายไฟให้ Power Supply และกดปุ่ม ON (ถ้ามี)

     เครื่อง PSU Tester จะเริ่มทำงาน .. และจะมีเสียงร้อง ตอนเริ่มต้น  2 ปั๊บ 

    จากนั้นหน้าจอจะแสดงตามรูปด้านล่าง

     PSU Tester จะแสดงแรงดันไฟที่จ่ายออกมา สังเกตุ ระดับแรงดัน และ เสียงร้อง ดังนี้ 

     

    # ถ้าหากไม่มีอะไรผิดปกติ ใน Stage นี้ จะไม่มีเสียงร้องไดๆทั้งสิ้น และไม่มีหน้าจอส่วนไหน กระพริบ

    - ผ่านการทดสอบ  (ปกติ)

     

    # มีเสียงร้องไม่หยุด และ แสดงระดับแรงดัน บางตัวเป็น LL(ต่ำเกินไป) หรือ HH(สูงเกินไป)

    - ไม่ผ่านการทดสอบ (PSU เสีย ไม่ควรใช้งานอย่างยิ่ง)

     

    # มีเสียงร้องไม่หยุด ค่า PG (ควรอยู่ที่ 200-900ms) กระพริบ

    - ไม่ผ่านการทดสอบ (PSUไม่ปกติ อาจเปิดติดบ้าง ไม่คิดบ้าง มีอาการวูบ ไม่เสถียร)

     

    # เปิดทิ้งไว้สักพัก มีเสียงร้อง เป็นช่วงๆ มีบ้างไม่มีบ้าง ไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม

    -  Wanning   (PSU ไม่ปกติ ไม่เสถียร เริ่มมีอาการ เอ๋อๆ)

     

    # เปิดทิ้งไว้สักพัก  ไม่มีเสียงร้อง แต่ลองดูที่หน้าจอ แล้วระดับแรงดันไฟไม่นิ่ง มีการการ Swing เป็นช่วงๆ

    -  Wanning   (PSU ไม่ปกติ ไม่เสถียร เริ่มป่วย แต่ยังใช้งานได้)

     

    # ไม่มีเสียงร้อง ไม่มีไฟขึ้นที่เครื่องทดสอบ แสดงว่า PSU เสีย ไม่จ่ายไฟ หรือ เครื่องทดสอบเสีย  = ='
     

    Stage 2 -- Loaded

    ดูอาการของ PSU เมื่อเริ่มมี Load

     

    วิธีทดสอบ

     

    ใ้ห้ทดสอบ ต่อจาก Stage 1 ***ทดสอบต่อเลย ไม่ต้องปิด PSU  โดย..

    นำ ฮาร์ดดิสก์ (หรืออุปกรณ์อื่นๆเช่น DVD) มาต่อกับสายไฟ DC-out ที่ว่างอยู่

    สามารถต่อได้เยอะตามต้องการ ยิ่งเยอะยิ่งดี

    (แต่จากประสพการณ์ PSU ที่มีปัญหา ใช้ HDD ตัวเดียวก็เห็นผลไม่ปกติแล้ว)

     

    สังเกตุระดับแรงดัน และ เสียงร้อง

     

    # จังหวะที่เราเสียบ  Load และหลังจากนั้นทิ้งไว้สักพัก ต้องไม่มีเสียงร้องไดๆ เลย

    - ผ่านการทดสอบ  (ปกติ)

     

    # มีเสียงร้องจังหวะที่เสียบ Load หลังจากนั้น เสียงเงียบ แล้วปกติ

    -  Wanning  (PSU เริ่มไม่ปกติ ใช้ได้ แต่ไม่เสถียร )

     

    # มีเสียงร้องตลอดเวลา ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ

     - ไม่ผ่านการทดสอบ (PSU เสีย ไม่ควรใช้งาน)

     

    # PSU Tester ดับไปเลย

    - อุปกรณ์ที่นำมาต่ออาจ ช๊อต หรือ PSU นั้นเสีย ไม่สามารถป้อนโหลดได้เลย

     

    # ไม่มีเสียงร้องใดๆ แต่ มองดูแล้ว ระดับแรงดัน มีอาการ Swing เป็นช่วงๆ

    - Wanning ( PSU เริ่มป่วย ยังใช้ได้ แต่คงไม่นาน)

     

     **** ข้อสุดท้าย สำคัญมาก และพบบ่อย ในเคสที่ คอมพิวเตอร์ มีอาการวูบ ดับ ไม่ทราบสาเหตุ

    # ทุกอย่างดู ปกติ ไม่มีเสียงร้อง แต่ค่า PG เปลี่ยนไปจากการทดสอบ Stage 1 

    - Wanning 

    - PSU นั้นไม่ปกติ อาจดูเหมือนปกติ แต่มีอาการวูบ ดับ จอฟ้า ที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง 

     

    ***

    เป็นเคสที่พบบ่อยมาก และเหนื่อยใจแทนเจ้าของ

    โดยส่วนมากที่เป็นแบบนี้ ก็จะคิดว่าเป็นที่อย่างอื่น MB บ้าง RAM บ้าง

    แต่จนแล้วจนเล่า มันก็ยังมีอาการ

    ถ้ามี PSU Tester ก็จะสามารถจับความผิดปกติ อันเล็กน้อย (แต่ยิ่งใหญ๋) นี้ได้

    เพราะ ค่า PG ก็คงมีแต่ PSU Tester เท่านั้นที่ เช็คได้ ***

     

    การทดสอบทั้ง 2   Stage  ควรให้เวลาในการทดสอบประมาณ 30 วินาที - 5 นาที หรือนานกว่านั้น เพื่อตรวจสอบเสถียรภาพของอุปกรณ์

     

     

    ควรทราบ

    ค่า PG นั้น PSU ที่ยังดีๆอยู่ จะมีค่าเดิมเสมอ ไม่ว่าจะเปิด-ปิด กี่ครั้ง  จ่าย หรือ ไม่จ่าย โหลด ก็ตาม ค่ามันจะ นิ่งๆ ไม่ว่ามันจะเท่าไร (ควรอยู่ที่ 200-900 ms)

    เป็นที่มาของการทดสอบ ส่วนเสริม ใน Stage+1

     

    Stage+1 -- Power good (PG) Stability

    เป็นการทดสอบความเสถียรภาพของค่า PG ซืึ่งเป็นสัญญาณที่ MB ใช้คุยกับ PSU

    **เฉพาะ PSU ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว ทั้งใน Stage1 และ   Stage2

    ถ้า PSU ไม่ผ่านการทดสอบ   Stage1 และ   Stage2  ไม่จำเป็นต้องมาทดสอบส่วนเสริม

     

    วิธีทดสอบ

     

    ในระหว่างที่ ทดสอบ ทั้งใน  Stage1 และ  Stage2 ให้ทำดังนี้ ..

    - สังเกตุและจดจำค่า PG

    - ปิด และ เปิด PSU (หรือถอดสาย AC ของ PSU แล้วเสียบไหม่)  โดยไม่ต้อง ถอดสาย DC ที่เชื่อมต่ออยู่กับ PSU Tester

    - ทำหลายๆครั้ง แล้วสังเกตุ ค่า PG ว่า ..

     

    # ค่า PG คงที่ตลอด -- (PSU ของคุณ เยี่ยมมาก ใช้งานได้ดีแน่นอน)

     

    # ค่า PG มีค่าที่ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา  ไม่คงที่  Swing

    • - PSU นั้น เริ่มมีความไม่ปกติ ซึ่งเชื่อได้ว่า ทำให้ ไม่เสถียร ซึ่งเมื่อนำไปใช้งานจริง อาจมี หรือ ไม่มีอาการ ก็เป็นได้
    •  - ค่า PG ที่  Swing นั้น ถ้ามีความห่างของการ Swing มากเท่าไร PSU ก็จะไม่เสถียรเพิ่มขึ้นเท่านั้น

     

    ชมคลิปวีดีโอการใช้งาน PSU TESTER เบื้องต้น

    ที่ผมถ่ายไว้นานแล้ว ตั้งแต่เวป IndyshopZ.com

    และยังไม่มีเวลาทำคลิปใหม่เลย อ่านคู่มือด้านบนไปก่อนนะครับ

    พยายามอธิบายไว้ ให้ ละเอียดแล้วครับ

     

    แสดงความคิดเห็น(ยอดรวม5หมายเลขของผู้ใช้ความคิดเห็น)

    • บุคคลทั่วไป ( 17-09-2022 09:59:57 )

      สุดยอดครับพี่บทความนี้ความรู้เยอะที่สุดเท่าที่ดูมา

      ผู้ดูแลระบบยินดีครับ^^

    • บุคคลทั่วไป ( 20-03-2019 14:40:15 )

      ของผมลองทดสอบดูแล้ว ไฟ 12v มันสวิงเล็กๆ 12.1 - 12.2 เป็ระยะๆ อันนี้ยังปกติอยู่ไหมครับ

      ผู้ดูแลระบบปกติครับ

    • บุคคลทั่วไป ( 09-02-2018 10:57:19 )

      ผมเทสแล้วขึ้นที่290ดึงสาย/ปิดเปิดแล้วก็อยู่ที่290 แต่ทิ้งไว่ซักพักเทสใหม่ไปอยู่ที่430แต่ไม่แกว่งดึงสาย/ปิดเปิดแล้วก็อยู่ที่430เหมือนเดิม อันนี้ถือว่าแกว่งไหมครับ

      ผู้ดูแลระบบไม่ครับ ยังอยู่ในเกณดี ครับ

    • เสริมชาติ ( 22-07-2014 14:59:10 )

      ให้ความรู้แบบไม่กักดีครับคงต้องขอคำปรึกษาอีกเยอะครับฟากตัวด้วยครับ

      ผู้ดูแลระบบยินดีครับ ^__^

    • zazaone ( 13-09-2013 09:48:12 )

      ใช้กับรุ่น 16 pin เครื่อง sony vaio ไฟเข้า suppy 110v เครื่อง japan ได้ไหมครับ

      ผู้ดูแลระบบผมเข้าใจว่า ไม่น่าจะไ้ด้นะครับ
      เว้นซะแต่ว่า หาตัวต่อแปลงออกมาให้เป็น 20/24 Pin เสียก่อนนะครับ

    รวมทั้งหมด 5 บันทึก, แบ่งออกเป็น1 หน้า. หน้าแรก ก่อนหน้า หน้าต่อไป หน้าสุดท้าย
    ชื่อผู้ใช้: บุคคลทั่วไป
    E-mail:
    ระดับ:
    เนื้อหา:

    ลิขสิทธิ์เป็นของ © 2005-2024 www.RJ45SHOP.com ทั้งหมด.
    สำนักงานใหญ่ : พระราม3 กรุงเทพ ประเทศไทย Email: rj45shop@gmail.com
    Hotline: 082-444-5147
    เราทุ่มเทอย่างหนักเพื่อให้เวปของเราทำงานได้ดีในทุก Browser
    แต่หากคุณพบปัญหาการใช้งาน เราแนะนำให้ใช้ CHOME
    ปฏิบัติ 88 คำสั่งใน 0.207982 วินาที ขณะนี้มี 39 ผู้เข้าชม,GZip On,MemUse 5.597 MB
    Powered by ECShop Mod By Indyman   Licensed rss// ******************************************/